แนะนำ Ubersuggest รีวิวฉบับใช้งานจริง

หนึ่งในหัวใจของการทำ SEO (Seach Engine Optimization) คือ ต้องเข้าใจความต้องการของคนที่ค้นหาข้อมูล แต่ปัญหา คือ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคิดหรือประมาณตัวเลขการค้นหาด้วยตัวเองได้ การค้นหาของคนอื่นจะแปรผันด้วยปัจจัยหลายอย่าง อย่าง ฤดู เทรนด์ กระแสสังคม วัย เพศ อายุ และปัจจัยอีกมากมาย ทำให้การใช้เครื่องมือ SEO เข้ามาช่วยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

อุปกรณ์ที่ช่วยค้นหาคีย์เวิร์ดที่ใช้งานกันบ่อยๆ คงไม่พ้น Google Keyword Planner ที่มีให้ใช้ฟรี แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง แม้จะพัฒนาให้ดีขึ้นจากเมื่อก่อนแล้วก็ตาม ในขณะที่เครื่องมือพวก Keyword Research หลายๆ ตัวก็เสียเงินแพงมาก ทำให้ไม่อยากที่จะใช้งานกัน

หนึ่งในเครื่องมือและดีในยุค 2019-2020 ต้องยกให้ Ubersuggest ที่ช่วยให้คุณทำงานด้านคอนเทนต์และ SEO / SEM ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ที่สำคัญ คือ ฟรี และมีคุณภาพ

เครื่องมือ Ubersuggest

Ubersuggest เครื่องมือทาง SEO ที่อยู่ในเว็บไซต์ของคุณ Neil Patel นักการตลาดออนไลน์ชื่อดังในอเมริกา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Kissmetrics, Crazy Egg ที่รู้จักกันดีในต่างประเทศ

ข้อดีไม่ต้องพูดเยอะ แน่นอนว่าฟรี ฟังก์ชั่นพื้นฐานครบ และมีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พูดถึงฟรี บางคนอาจคิดว่าไม่ดีเท่าพวกตัวเสียเงิน อาจไม่มีความแม่นยำ ? แต่ความจริงเจ้า Ubersuggest ก็ไม่ถึงกับแตกแยกจากเครื่องมือ SEO ตัวอื่นเสียทีเดียว เพราะ เป็นเครื่องมือที่ดึงข้อมูล API จากเครื่องมือตัวอื่นที่นิยมใช้มาหลายๆ ที่ มารวมไว้ที่เดียว ทำให้มีความแม่นยำไม่ต่างกัน

แน่นอนว่าข้อเสีย คือ ฟังก์ชั่นจะยังสู้พวกเสียเงินบางตัวไม่ได้ แต่บางคุณสมบัติของพวกเครื่องมือเสียเงิน ถือว่าเกินความจำเป็นสำหรับนัก SEO เหมือนกัน และไม่แน่ว่าบางฟีเจอร์ดีๆ อาจนำมาเพิ่มในปี 2020 ก็ได้

ส่วนคนที่ใช้ Ubersuggest แล้ว กังวลว่าจะมีการปรับให้ไม่ฟรีภายหลัง คงไม่ต้องกังวลหรอกครับ เพราะดูจากสไตล์ของคุณ Neil Patel ที่เป็นนักการตลาดยุคใหม่ บวกกับยุค Digital Disruption ก็น่าจะเปิดให้ใช้ฟรีกันยาวๆ แลกกับสิ่งอื่นตอบแทนมากกว่า การฝึกใช้เครื่องมือนี้ให้เป็นจะทำให้งานคอนเทนต์คุณมีคุณภาพมากขึ้น

การใช้งาน Ubersuggest ขั้นพื้นฐาน

Ubersuggest พื้นฐาน
https://neilpatel.com/ubersuggest/ หรือ http://ubersuggest.com ก็ได้เช่นกัน

เมื่อเข้าหน้าเว็บครั้งแรก ฟังก์ชั่นหลักๆ จะมีแค่ค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด ซึ่งพิมพ์หาได้ตามต้องการ อย่าลืมปรับเป็นภาษาไทยด้วย

เมื่อเริ่มการใช้งาน หรือพิมพ์คำค้นหาในช่อง จะมีแนะนำให้เข้าใช้งานด้วย Google ซึ่งจะได้ฟังก์ชั่นที่ครบกว่า

Ubersuggest Login

ฟีเจอร์หลัก

  1. Ubersuggest เครื่องมือสำหรับค้นหา Keyword
  2. Traffic Analyzer วิเคราะห์ยอดคนเข้าเว็บไซต์
  3. SEO Analyzer วิเคราะห์ SEO

1. ค้นหาคีย์เวิร์ดด้วย Ubersuggest

ผมขอยกตัวอย่าง “ศัลยกรรม” และเลือกพื้นที่ไทย สมมุติว่าผมกำลังทำเว็บบทความศัลยกรรมในไทย จะต้องแข่งกับคนอื่นอย่างไร

Ubersuggest Guide Step 1

วิธีอ่านค่าเบื้องต้น

  • Search Volume จำนวนครั้งที่มีการค้นหาคีย์เวิร์ดต่อเดือน
  • SEO Difficulty (SD) อัตราแข่งขันของคีย์เวิร์ดในด้าน Organic Search (SEO) สเกล 0-100
  • Paid Difficulty (PD) อัตราแข่งขันของคีย์เวิร์ดในด้าน Paid Search (SEM) สเกล 0-100
  • Cost Per Click (CPC) ค่า Paid Search ของคีย์เวิร์ดนั้นโดยประมาณ คำนวณเป็นเงินตามประเทศนั้นให้

การอ่านค่าแบบเบื้องต้น และตีความหมาย จะได้ว่า

  • คีย์เวิร์ด “ศัลยกรรม” จะมีการค้นหาเฉลี่ย 12,100 ครั้งต่อเดือน ความยากของ SEO/SEM จะอยู่ระดับเกือบกลางๆ และ CPC จัดว่าสูง
  • ถือว่าสอดคล้องกับการแข่งขันเรื่องศัลยกรรมตามคลินิกและสถานพยาบาลในไทย
  • ถ้าจะแข่งขันคีย์เวิร์ดนี้ด้าน Google Ads คงต้องเตรียมเงินไว้เยอะๆ

ด้านกราฟย้อนหลัง 12 เดือนในภาพ ก็ถือว่าสำคัญ ว่าเทรนด์กำลังมา หรือ ดรอปลง ซึ่งใช้พิจารณาการเลือกคีย์เวิร์ดได้ดีขึ้น

การใช้งาน Ubersuggest ในเบื้องลึก ลองดูค่าอื่นๆ

  • สังเกต Backlink มีแค่ 1 ซึ่งหมายความว่าด้าน Link Building กลับอ่อนมาก
  • เมื่อเทียบกับต่างประเทศ คำว่า Surgery ในสหรัฐอเมริกา ลองดูตามภาพด้านล่างจะเห็นว่าแข่งขันกันโหดกว่ามาก
  • การทำลิงค์ในไทย จึงอาจช่วยให้มีโอกาสติดอันดับท็อป 10 ได้ง่าย

Ubersuggest Guide Step 2

ถ้าเลื่อนลงมาจะเห็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการหาคีย์เวิร์ดและคอนเทนต์

  • Keyword Ideas เป็นแนวคิดคีย์เวิร์ดซึ่งนำไปทำเป็นคอนเทนต์ได้ ประเมินจากความยากของ SEO Difficulty (SD) สำหรับคนยิงแอด ก็ดู CPC กับ PD นำไปใช้เป็นไอเดียได้เช่นกัน
  • Content Ideas เป็นคอนเทนต์ที่มีการแชร์สูง นำไปประยุกต์เขียนคอนเทนต์ได้ว่าควรเลือกหัวข้อไหน

Ubersuggest Guide Step 3

ถ้ากดดูข้อมูลเพิ่มเติมทั้งหมด (View All Keyword Idea) จะเห็นสิ่งที่ละเอียดขึ้น ทั้งไอเดียคีย์เวิร์ด คำที่สัมพันธ์ รวมถึงอันดับใน Google SERP

Ubersuggest Guide Step 4

ข้อมูลฝั่งขวา มีข้อมูลที่น่าสนใจของเว็บท็อป 100 ดังนี้

  • Google SERP เป็นลิงค์ที่ติดอันดับใน Google ปัจจุบัน
  • Est. Visits เป็นยอดคนเข้าเว็บไซต์โดยประมาณต่อเดือนในลิงค์นั้น
  • Links เป็นลิงค์ภายนอกเว็บที่ชี้ไปที่เว็บนี้
  • Domain Score (DS) คะแนนโดยประมาณของเว็บ ยิ่งสูงก็ยิ่งมีความน่าเชื่อถือ
  • Social Share ยอดแชร์ผ่านโซเชียลช่องทางต่างๆ

ถ้าดูจากข้อมูลคร่าวๆ คงได้สรุปว่าเป็นคีย์เวิร์ด “ศัลยกรรม” ติดอันดับยาก อาจต้องหันไปเลือกทำบทความอื่น เจาะจงกว่านี้ หรือ เลือกคีย์เวิร์ดที่มีความเกี่ยวข้องกันแทน โดยเลือกจากที่ SD น้อยเป็นหลัก จะมีโอกาสติดอันดับหน้าแรกได้ง่ายกว่า

ผู้ใช้ทั่วไปที่มาเว็บไซต์นี้ นิยมใช้งานพื้นฐานจะใช้ค้นคีย์เวิร์ด หาไอเดียการเขียน เป็นหลัก จึงนิยมใช้กันแค่หัวข้อ 1 แต่สำหรับชาว SEO ถ้าจะใช้ให้คุ้ม ก็ควรเข้าใจฟีเจอร์อื่นของเว็บนี้

2. เช็คเว็บเป้าหมายด้วย Traffic Analyzer

Ubersuggest Guide menu

สำหรับคนใช้ Search Console กับ Google Analytic อาจรู้จักเว็บตัวเองดีอยู่แล้ว แต่การจะล้วงข้อมูลเว็บคนอื่น ปกติไม่สามารถทำได้ด้วยเครื่องมือที่กูเกิ้ลจัดไว้ให้ ต้องใช้เครื่องมือช่วยในการตรวจสอบ ซึ่ง Ubersuggest มีฟังก์ชั่นนี้เช่นกัน

ขั้นตอนการใช้งานก็ง่ายๆ แค่พิมพ์โดเมนเป้าหมายที่ต้องการล้วงข้อมูลในช่องค้นหา ระบบจะแสดงข้อมูลที่น่าสนใจออกมา

  • แสดงข้อมูลย้อนหลัง 1 ปี ว่ามีคนเข้าชมเพิ่มหรือลดลง
  • ติดอันดับคีย์เวิร์ดอะไร ในประเทศไหนบ้าง (ถ้าคู่แข่งทำการตลาดในต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องสำคัญ)
  • หน้าที่มี Traffic สูงอันดับต้นๆ

การทราบข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจคู่แข่ง หรือศึกษาการเติบโตของเว็บไซต์อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น

3. วิเคราะห์เว็บด้วย SEO Analyzer

สุขภาพเว็บ ก็เป็นเรื่องสำคัญ บางคนมองข้ามบางเรื่องไป ทำให้อันดับร่วงได้ จึงควรหมั่นเช็คบ้าง

  • Site Audit ตรวจสอบเว็บไซต์ มีประโยชน์สำหรับหาปัญหาภายในเว็บที่คุณอาจมองข้ามไป
  • Backlinks เช็คลิงค์ของเว็บว่ามีที่ไหนบ้าง ถ้าใช้กับคู่แข่งจะได้รู้ว่าไปทำ BL ที่ไหนมาบ้าง ใช้ Anchor Text แบบไหน มีที่ไหนน่าทำ Follow Links บ้าง

ฟีเจอร์ใหม่ใน Dashboard

Ubersuggest Guide Step 5

เป็นฟีเจอร์ที่เพิ่มมาช่วงไตรมาสหลังของปี 2019 เมื่อคุณล็อคอินด้วยบัญชี Google จะสามารถใช้ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมของเว็บได้แบบฟรีๆ เข้าได้จาก Dashboard ที่เมนูของเว็บ (ซ้ายบนใน Desktop)

  • ตาม Projects ได้ถึง 5 เว็บไซต์
  • ติดตาม Keyword ได้ถึง 25 คีย์เวิร์ด (มีแนะนำคีย์เวิร์ดที่อันดับดีๆ ให้เลือก)
  • เช็คสุขภาพไซต์พร้อมรายงานให้ทุกวัน

พวกติดตามเว็บ ส่วนใหญ่เป็นฟีเจอร์เสียเงินที่ใช้ในเว็บอื่นๆ แต่ฟรีที่นี่

สรุปประโยชน์ของ Ubersuggest ย่อๆ

  • พิมพ์ข้อมูลคีย์เวิร์ด เพื่อทำการวิเคราะห์คีย์เวิร์ด ด้านอันดับ เทรนด์ และคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
  • เลือกหาคอนเทนต์ที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างเนื้อหาที่มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ดีขึ้น
  • พิมพ์ข้อมูลโดเมน เพื่อเช็คข้อมูลของอีกฝ่าย เหมาะกับการทำ Link Building และหาโอกาสติดอันดับจากคอนเทนต์ที่ใกล้เคียงกัน
  • ใช้ฟังก์ชั่น Site Audit เพื่อเช็คสุขภาพเว็บไซต์คุณ แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • แนะนำให้เข้าใช้งานด้วยบัญชี Google เพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นที่มากขึ้นอย่าง Dashboard และฟีเจอร์ใหม่ๆ ในปี 2020

โดยรวม Ubersuggest ถือว่าฟีเจอร์ค่อนข้างครบถ้วนตามที่นัก SEO และคนเขียนคอนเทนต์ต้องการ ส่วนจะนำไปใช้งานได้ดีแค่ไหน ขึ้นกับฝีมือและการประยุกต์ใช้งานครับ

Scroll to Top